อย.ขับเคลื่อนโครงการเครือข่ายชุมชนร่วมใจ ป้องกันภัยผลิตภัณฑ์สุขภาพ มอบรางวัล ผลการดําเนินงานสร้างสังคมรอบรู้ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ โดดเด่นดีเยี่ยม ระดับประเทศ
นพ. โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) เป็นประธานในพิธีมอบรางวัลทรงคุณค่าแก่ผู้ที่ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการเดินหน้าสร้างสังคมรอบรู้ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพอย่างยั่งยืน ซึ่งปัจจุบัน โลกกําลังรับมือกับปัญหาที่หลากหลายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้โดยเฉพาะปัญหาด้านสุขภาพ อย่างโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือ โรค NCDs ถือเป็นภัยคุกคามต่อชีวิตคนทั้งโลก
ซึ่งในประเทศไทย โรค NCDs เช่น โรคหัวใจ-หลอดเลือด มะเร็ง เบาหวาน เป็นสาเหตุอันดับหนึ่งที่ทําให้คนไทยเสียชีวิตและคนไทยมากกว่า 14 ล้านคนกําลังเผชิญกับโรค NCDs มากกว่า 4.8 ล้านคนเป็นโรคเบาหวาน และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นเป็น 5.3 ล้านคนในปี 2583
อย. ซึ่งมีบทบาทสําคัญในการคุ้มครองผู้บริโภค และส่งเสริมความรอบรู้ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ จึงเร่งสร้างกลไก สร้างชุมชน และสร้างคน ให้มีศักยภาพในการเลือกซื้อ เลือกใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพอย่างสมประโยชน์ด้วยการขับเคลื่อนให้เกิดเครือข่ายชุมชนร่วมใจ ป้องกันภัยผลิตภัณฑ์สุขภาพ หรือ เครือข่าย บวร.ร. สะสมทั่วประเทศ กว่า 255 ชุมชน และ โรงเรียน อย. น้อย ซึ่งกระจายอยู่ทุกพื้นที่ของประเทศไทย กว่า 18000 แห่ง ครอบคลุมทุกกลุ่มวัย เกิดเป็นเครือข่ายชุมชนผู้บริโภคที่แข็งแกร่ง ที่สามารถจัดการปัญหาด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพได้ด้วยการมีส่วนร่วมรู้สึกเป็นเจ้าของปัญหา และวางแผนจัดการอย่างยั่งยืน มีการดําเนินงานสร้างความรอบรู้ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพที่โดดเด่น (Best Practice) ทั้งในระดับจังหวัดและระดับเขตสุขภาพ
อาทิเช่น ชุมชนหานโพธิ์ จ.พัทลุง ซึ่งปัญหาที่พบในชุมชนมีทั้งการใช้ยาไม่ถูกต้อง เช่น ยาหมดอายุ เสื่อมสภาพสเตียรอยด์ รวมถึงการบริโภคอาหารหวาน มัน เค็ม เป็นต้น โดยในชุมชนมีการร่วมมือกันแก้ไขและป้องกันปัญหาในรูปแบบเครือข่าย บ้าน วัด โรงเรียน โรงพยาบาล เน้นกระบวนการ ร่วมรับรู้ ร่วมคิด ร่วมทํา ร่วมติดตามผลและใช้แนวคิด การพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง โดยวงล้อมเดิมมิ่ง/PDCA /วงล้อบริหารงานคุณภาพมาขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี2564-ปัจจุบัน
โดยนําต้นทุนในพื้นที่มาออกแบบกระบวนการขับเคลื่อนโดย นวัตกรรม 3 ต. ในการแก้ปัญหา (ติดอาวุธทางปัญญา ติดตาม และ ติดตั้งตู้ยาสามัญประจําบ้าน /ตาไว/ไต ) ปัจจุปันการดําเนินงานเกิดความสําเร็จทั้งในเชิงปริมาณ เช่น ปัญหาผู้ป่วยเรื้อรังใช้ยาไม่ถูกต้องลดลงจาก 40.85% เป็น 30.9 % และ 23.8% ตามลําดับ
การจําหน่ายยาที่เหมาะสมในร้านชําเพิ่มขึ้นเป็น 100% ปัญหาด้านการกินอาหารที่เหมาะสมกับโรค เพิ่มขึ้นจาก 15.63% เป็น 26.67% และ 32% ตามลําดับและ กลุ่มผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงโรคไตของชุมชนหานโพธิ์ สามารถชะลอไตเสื่อมได้ 55% ผู้ป่วยความดันสามารถควบคุมความได้เพิ่มขึ้นเป็น 61.88% ผู้ป่วยรายใหม่ลดลง 27.27% ด้านผลลัพธ์เชิงคุณภาพ เกิดข้อตกลงของชุมชน วัด โรงเรียน ผู้ป่วยโรคเรื้องรัง ร่วมกันลดเค็ม (อาหารลดโซเดียม) เกิดทีมทํางานเครือข่าย บวร.ร ที่มีเครือข่ายเพิ่มขึ้น โดยนําต้นทุนของแต่ละเครือข่ายมาร่วมแก้ปัญหาโดยใช้ นวัตกรรม 3 ต ในการขับเคลื่อนการแก้ปัญหา
ด้านสมาชิกโรงเรียน อย. น้อย อย่างโรงเรียนประสานวิทยามูลนิธิ จ.ปัตตานี นับเป็นอีกหนึ่งโรงเรียนที่มีผลงานด้านนวัตกรรมที่โดดเด่น โดยมีการออกแบบผลงานนวัตกรรมผ่านแอปพลิเคชัน Prasan Check มีการจัดทําสื่อให้เป็นภาษาท้องถิ่น เช่น ภาษามลายู/อาหรับ เพื่อเพิ่มการเข้าถึงข้อมูล (กลุ่มเปราะบาง) ของนักเรียน ประชาชนในชุมชนและชายแดนมากขึ้น ให้ความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพแก่ชุมชนอย่างทั่วถึง และไม่แบ่งแยกทั้งชุมชนไทยพุทธ และมุสลิม สอดคล้องกับการเป็นสังคมพหุวัฒนธรรม ขยายโอกาสสู่กลุ่มนักเรียนกลุ่มการศึกษาพิเศษ เช่น โรงเรียนปอเนาะ (โรงเรียนสอนศาสนา) เนื่องจากนักเรียนกลุ่มนี้ขาดโอกาสในการเข้าถึงข้อมูลทางสุขภาพที่ถูกต้อง และการมีส่วนร่วมกับภาคีเครือข่ายในชุมชน เช่น โรงพยาบาล สสอ. อบต. สถานีตํารวจ ผู้นําชุมชน อสม. และผู้ประกอบการในชุมชน เพื่อส่งเสริมการมีความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับสุขภาพ และผลิตภัณฑ์สุขภาพ
สำหรับรางวัลทรงคุณค่าที่มอบแก่ผู้ที่ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการเดินหน้าสร้างสังคมรอบรู้ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพอย่างยั่งยืนในวันนี้ จําแนกเป็น รางวัลหน่วยงานปราบปรามและดําเนินคดีผลิตภัณฑ์สุขภาพดีเด่น จํานวน 2 รางวัล รางวัลผลงานสื่อสร้างสรรค์ นักสื่อสารด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ 18 รางวัล รางวัลการขับเคลื่อนงานสร้างความรอบรู้ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ ซึ่งมอบให้แก่ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัด(สสจ.) ชุมชน และโรงเรียน อย. น้อย รวมจํานวน 105 รางวัล และรางวัลผลงานโดดเด่นดีเยี่ยม (Best of the Best) ระดับประเทศ 9 รางวัล ซึ่งคัดเลือกจากผู้ผ่านการคัดเลือกเป็นตัวแทนผลงานโดดเด่น (Best Practice) ระดับเขตสุขภาพ ของเครือข่าย บวร.ร 16 ผลงาน และตัวแทนผลงานโดดเด่น (Best Practice) ระดับเขตสุขภาพ ของโรงเรียน อย. น้อย จากทั้ง 4 ด้าน ประกอบด้วย ด้านการมีส่วนร่วมกับชุมชน ด้านนวัตกรรม ด้านสื่อสร้างสรรค์และ ด้านคลื่นลูกใหม่ ผลงานโดดเด่น จํานวน 42 ผลงาน โดยผู้ได้รับรางวัล ผลงานโดดเด่นดีเยี่ยม (Best of the Best) ระดับประเทศ ในปีนี้ ได้แก่
1) ชุมชนรอบรู้ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ บวร.ร. ที่มีผลงานโดดเด่นดีเยี่ยม ระดับประเทศ ได้แก่ ชุมชนหานโพธิ์ จ.พัทลุง
2) สุดยอด โรงเรียน อย.น้อย ที่มีผลงานโดดเด่นดีเยี่ยม ด้านคลื่นลูกใหม่ ผลงานโดดเด่น ประเภทโรงเรียนขนาดใหญ่ระดับประเทศ ได้แก่ โรงเรียนปรางค์กู่ จ.ศรีษะเกษ
3) สุดยอด โรงเรียน อย.น้อย ที่มีผลงานโดดเด่นดีเยี่ยม ด้านคลื่นลูกใหม่ ผลงานโดดเด่น ประเภทโรงเรียนขนาดเล็ก ระดับประเทศ ได้แก่ โรงเรียนบ้านยางบอน (อําพานุสรณ์) จ.ศรีษะเกษ
4) สุดยอด โรงเรียน อย.น้อย ที่มีผลงานโดดเด่นดีเยี่ยม ด้านการมีส่วนร่วมกับชุมชน ประเภทโรงเรียนขนาดใหญ่ระดับประเทศ ได้แก่ โรงรียนคลองใหญ่วิทยาคม จ.ตราด
5) สุดยอดโรงเรียน อย.น้อย ที่มีผลงานโดดเด่นดีเยี่ยม ด้านการมีส่วนร่วมกับชุมชน ประเภทโรงเรียนขนาดเล็กระดับประเทศ ได้แก่ โรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร จ.ร้อยเอ็ด
6) สุดยอด โรงเรียน อย.น้อย ที่มีผลงานโดดเด่นดีเยี่ยม ด้านนวัตกรรม ประเภทโรงเรียนขนาดใหญ่ ระดับประเทศ ได้แก่ โรงเรียนประสานวิทยามูลนิธิ จ.ปัตตานี
7) สุดยอด โรงเรียน อย.น้อย ที่มีผลงานโดดเด่นดีเยี่ยม ด้านนวัตกรรม ประเภทโรงเรียนขนาดเล็ก ระดับประเทศ
ได้แก่ โรงเรียนบ้านขาม จ.สกลนคร
8) สุดยอด โรงเรียน อย.น้อย ที่มีผลงานโดดเด่นดีเยี่ยม ด้านสื่อสร้างสรรค์ ประเภทโรงเรียนขนาดใหญ่ระดับประเทศ ได้แก่ โรงเรียนคุรุประชาสรรค์ จ.ชัยนาท
9) สุดยอด โรงเรียน อย.น้อย ที่มีผลงานโดดเด่นดีเยี่ยม ด้านสื่อสร้างสรรค์ ประเภทโรงเรียนขนาดเล็ก ระดับประเทศ ได้แก่ โรงเรียนปงยางคก (ทิพย์ช้างอนุสรณ์) จ.ลําปาง
ทั้งนี้ การขับเคลื่อนให้เกิดเครือข่ายชุมชนร่วมใจ ป้องกันภัยผลิตภัณฑ์สุขภาพ หรือเครือข่าย บวร.ร. และ โรงเรียน อย. น้อย เป็นหนึ่งในพันธกิจสําคัญของอย. ตามเป้าหมาย “ ผู้บริโภคปลอดภัย ผู้ประกอบการพัฒนาไกล ระบบคุ้มครองสุขภาพไทยยั่งยืน” โดยหวังเป็นอย่างยิ่งว่า การดําเนินงานโครงการดังกล่าว จะส่งเสริมให้ประชาชนลดปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพ โดยมุ่งพัฒนาศักยภาพและองค์ความรู้ให้ผู้บริโภคมีพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ถูกต้องและเหมาะสม รวมถึงพัฒนา ขยายเครือข่ายภาคประชาชนและภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อช่วยกันจัดการหรือป้องกันปัญหาด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ทางชุมชนในแต่ละพื้นที่นั้น ๆ ประสบอยู่ ตามกําลังและความสามารถของคนในชุมชน สามารถดูแลตนเองให้มีพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ถูกต้อง มีสุขภาพแข็งแรง และปลอดภัย ป้องกันภัยผลิตภัณฑ์สุขภาพต่อไป
######