เมื่อ : 07 พ.ย. 2567

เนื่องในวันพยาธิวิทยาโลกมหาวิทยาลัยเซนต์จอร์จ (SGU) คณะแพทยศาสตร์ ในประเทศเกรนาดาหมู่เกาะเวสต์อินดิสได้เน้นย้ำถึงบทบาทสำคัญของพยาธิวิทยาในการพัฒนาการดูแลสุขภาพแบบทันสมัยในประเทศไทยพยาธิวิทยา นับว่าเป็นรากฐานสำคัญของการแพทย์มีบทบาทใน การตัดสินใจทางการแพทย์ถึง 70% โดยสนับสนุนการวินิจฉัยที่แม่นยำและการรักษาที่มีประสิทธิภาพสูงสุด นักพยาธิวิทยาทำการตรวจสอบเนื้อเยื่อ เซลล์ และของเหลวในร่างกายเพื่อค้นหา สาเหตุของโรคอย่างลึกซึ้ง ซึ่งการตรวจนี้ มีส่วนสำคัญในการดูแลและฟื้นฟูสุขภาพของผู้ป่วย สาขาพยาธิวิทยามีบทบาทสำคัญในการยกระดับการดูแลสุขภาพโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการพัฒนาและรับมือในช่วงระบาดโควิด-19 ด้วยความหลากหลายของสาขาย่อย เช่น พยาธิวิทยานิติเวชและพยาธิวิทยาระบบประสาท พยาธิวิทยาจึงครอบคลุมทั้งความท้าทายและโอกาสสำหรับการวิจัยและการค้นพบ ซึ่งทำให้สาขานี้เป็นองค์ประกอบสำคัญที่ขับเคลื่อนการแพทย์สมัยใหม่ได้ดียิ่งขึ้น ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีกำลังสามารถพัฒนาสาขาพยาธิวิทยา ทำให้เป็นสาขาที่สร้างความหลากหลายและน่าสนใจ นวัตกรรมด้านปัญญาประดิษฐ์(AI) และ พยาธิวิทยาดิจิทัล กำลังทำให้กระบวนการวินิจฉัยมีความแม่นยำและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ความก้าวหน้านี้ไม่เพียงเพิ่มคุณภาพในการตรวจวินิจฉัย แต่ยังเปิดโอกาสใหม่ในการวิจัยและการพัฒนาการรักษาอีกด้วย การประกอบอาชีพในสาขาพยาธิวิทยาปัจจุบันมี แพทย์พยาธิวิทยาประมาณ 1100 คนในประเทศไทย แต่ยังคงมีความต้องการผู้เชี่ยวชาญในสาขานี้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับความต้องการด้านการดูแลสุขภาพที่สูงขึ้นและความก้าวหน้าของเทคนิคการวินิจฉัย พยาธิวิทยาเป็นอาชีพทางการแพทย์ที่มีความคุ้มค่า โดยรวมการปฏิบัติทางคลินิกการวิจัย และการวินิจฉัยเข้าด้วยกัน เพื่อทำให้การดูแลผู้ป่วยดียิ่งขึ้นการมีพื้นฐานที่แข็งแกร่งในด้านการศึกษาแพทยศาสตร์รวมถึงการฝึกอบรมเฉพาะทางในระดับแพทย์ประจำบ้านและแพทย์ประจำบ้านต่อยอดเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้ที่ต้องการเป็นแพทย์พยาธิวิทยา การได้รับการรับรองจากสภาวิชาชีพสะท้อนถึงความมุ่งมั่นในการรักษามาตรฐานสูงสุดด้านความรู้และความเชี่ยวชาญสาขานี้มีสาขาย่อยที่หลากหลาย รวมถึงพยาธิวิทยาคลินิก พยาธิวิทยาทางกายวิภาค และพยาธิวิทยาโมเลกุล ซึ่งช่วยให้ผู้เชี่ยวชาญสามารถมุ่งเน้นไปที่ความสนใจเฉพาะทางในฐานะที่เป็นสาขาที่มีความหลากหลายและมีประโยชน์รอบด้าน พยาธิวิทยาท้าทายผู้ปฏิบัติงานให้แก้ปัญหาทางการแพทย์ที่ซับซ้อน ในขณะเดียวกันก็มีส่วนสำคัญในการวินิจฉัยและการรักษาที่ช่วยชีวิตผู้ป่วย ดร.Ewarld Marshall หัวหน้าภาควิชาพยาธิวิทยา กล่าวว่า “พยาธิวิทยาเป็นแนวหน้าในการพัฒนาการแพทย์ ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการวินิจฉัยโรคและรักษาโรคที่ส่งผลกระทบต่อผู้คนนับล้าน มหาวิทยาลัยเซนต์จอร์จมุ่งมั่นในการอบรมแพทย์พยาธิวิทยารุ่นต่อๆไป ผู้เป็นบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนนวัตกรรมและพัฒนาการดูแลผู้ป่วยต่อไป เนื่องในโอกาสวันพยาธิวิทยาโลกนี้ เราจึงอยากสนับสนุนการมีส่วนร่วมของแพทย์พยาธิวิทยาและความช่วยเหลือที่ไม่อาจประเมินค่าได้ ในการกำหนดอนาคตในด้านการดูแลสุขภาพ” พยาธิวิทยามีความสำคัญในการวินิจฉัยโรค ชี้นำการดูแลทางการแพทย์และพัฒนาความรู้ทางการแพทย์ และในวันพยาธิวิทยาโลกนี้เราควรเชิดชูความพยายามและความทุ่มเทของแพทย์พยาธิวิทยาในประเทศไทย รวมถึงการมีส่วนร่วมที่สำคัญในด้านการดูแลสุขภาพ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับหลักสูตรและติดตามข่าวสาร สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเซนต์จอร์จ