อนาคตอสังหาริมทรัพย์ไทย 2568: เจแอลแอลเจาะเทรนด์สำคัญพลิกโฉมตลาด ขับเคลื่อนการลงทุน

กรุงเทพฯ 27 กุมภาพันธ์ 2568 – เจแอลแอล (NYSE: JLL) ประเทศไทย บริษัทที่ปรึกษาด้านอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำของโลก เผยภาพรวมตลาดอสังหาริมทรัพย์ โดยเน้นถึง 4 ปัจจัยหลักที่กำหนดทิศทางตลาดในปี 2568 ได้แก่
การที่ประเทศไทยก้าวขึ้นเป็นประเทศสำคัญที่ได้รับประโยชน์จากกลยุทธ์ China 1 ซึ่งกำลังดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศอย่างมาก โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และเซมิคอนดักเตอร์ ขณะเดียวกัน เทรนด์การกลับเข้ามาทำงานที่สำนักงานช่วยกระตุ้นความต้องการพื้นที่สำนักงานระ ดับพรีเมียมเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ การปรับปรุงและเพิ่มมูลค่าสินทรัพย์กลายเป็นเรื่องสำคัญสำหรับเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องการรักษาขีดความสามารถในการแข่งขัน สำหรับภาคธุรกิจโรงแรมแนวโน้มยังคงเป็นบวก พร้อมแรงขับเคลื่อนจากการลงทุนที่ต่อเนื่อง ขณะที่ความต้องการที่เปลี่ยนแปลงของนักท่องเที่ยวผลักดันให้ทั้งเจ้าของธุรกิจโรงแ รมและผู้ประกอบการโรงแรมต้องมีความคิดสร้างสรรค์และยืดหยุ่นมากขึ้นเพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขัน บทบาทของประเทศไทยในกลยุทธ์ China 1
และระบบห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมมูลค่าสูง ประเทศไทยได้ก้าวขึ้นเป็นจุดหมายปลายทางที่สำคัญในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำหรับผู้ผลิตที่มองหาทางเลือกในการขยายฐานการผลิตนอกประเทศจีน โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และเซมิคอนดักเตอร์ โดยประเทศไทยได้รับความสนใจมากขึ้นจากผู้ผลิตอิเล็กทรอนิกส์จากไต้หวันและจีน ควบคู่ไปกับการเข้ามาของผู้ผลิตเซมิคอนดักเตอร์รายใหญ่ของโลกที่เข้ามาตั้งโรงงานแห่งใหม่ในไทยเพื่อรองรับอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าดาต้าเซ็นเตอร์ และพลังงาน

นายร็อดดี อัลลัน ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริการงานวิจัยภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกของเจแอลแอล กล่าวว่า
”การเติบโตของ AI และความต้องการเซมิคอนดักเตอร์ที่เพิ่มขึ้นทั่วโลก ทำให้ประเทศไทยกลายเป็นตลาดสำคัญสำหรับอุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูง สิทธิประโยชน์ในด้านการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) และหน่วยงานภาครัฐอื่น ๆ ยังช่วยดึงดูดผู้ผลิตต่างชาติรายใหญ่ที่ต้องการลดความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์และสร้างฐานการผลิตในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากนี้ดาต้าเซ็นเตอร์ยังขยายตัวอย่างรวดเร็วจากความต้องการโครงสร้างพื้นฐานเพื่อสนับสนุนการพัฒนา AI และการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลแนวโน้มเหล่านี้กำลังกำหนดยุคใหม่ให้กับภาคอสังหาริมทรัพย์เพื่อการอุตสาหกรรม ของไทย โรงงานผลิตใหม่ ๆ การกลับเข้ามาทำงานที่สำนักงาน (Return-To-Office): ความต้องการพื้นที่ทำงานระดับพรีเมียมที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่บริษัทต่าง ๆ ทบทวนกลยุทธ์เชิงพื้นที่และสภาพแวดล้อมในการทำงาน เทรนด์การกลับมาทำงานที่สำนักงานกำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ความต้องการพื้นที่สำนักงานคุณภาพสูงในย่านศูนย์กลางธุรกิจของกรุงเทพ ฯ (CBA) เพิ่มขึ้น โดยหลายองค์กรกำหนดให้พนักงานกลับเข้ามาทำงานที่อาคารสำนักงานมากขึ้นทำให้เกิดการขยายและปรับปรุงพื้นที่ เพื่อดึงดูดและรักษาบุคลากรคุณภาพสูง

นายไมเคิล แกลนซี่ กรรมการผู้จัดการ เจแอลแอล ประจำประเทศไทย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และ เวียดนาม กล่าวว่า ”เราเห็นการกลับมาของเทรนด์การทำงานแบบไฮบริด โดยองค์กรใหญ่ ๆ ได้เพิ่มจำนวนวันที่ต้องทำงานในสำนักงานเป็น 3-4 วันต่อสัปดาห์โดยเฉลี่ย ซึ่งส่งผลให้เกิดความต้องการพื้นที่สำนักงานระดับพรีเมียมเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโครงการมิกซ์ยูส (Mixed-used) ที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของพนักงานที่เปลี่ยนแปลงไป นอกจากนี้ หลายบริษัทที่เคยลดขนาดสำนักงานเริ่มตระหนักว่าบริษัทต้องการพื้นที่มากขึ้นเพื่อรองรับพนักงานที่กลับเข้ามาทำงานในสำนักงาน ส่งผลให้เกิดการขยายตัวในตลาด โดยคุณภาพของสำนักงานกลายเป็นปัจจัยสำคัญในการเลือกงาน ทำให้เจ้าของอาคารและผู้เช่าที่ลงทุนในการปรับปรุงพื้นที่จะได้เปรียบในการรองรับเทรนด์สำคัญที่กำลังเกิดขึ้นนี้”
พื้นที่สำนักงานใหม่ในกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ระดับพรีเมียมในโครงการมิกซ์ยูส ในขณะที่อาคารเก่าหลายแห่งถูกปรับเปลี่ยนหรือพัฒนาใหม่เป็นพื้นที่ทำงานแบบอเนกประสงค์มากขึ้น นอกจากนี้ ในย่านศูนย์กลางธุรกิจพื้นที่สำนักงานเกรด A มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปี (CAGR) ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาสูงถึง 3.7% ซึ่งสูงกว่าอัตราการเติบโตของค่าเช่าทั้งตลาดที่อยู่ที่ 1.0% การเสริมสร้างมูลค่าสินทรัพย์และการพัฒนาพอร์ตโฟลิโอเพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขัน เพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของตลาด เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ให้ความสำคัญกับการปรับปรุงพอร์ตโฟลิโอเพื่อรักษาผู้เช่าแ ละเพิ่มมูลค่าสินทรัพย์ โดยในปัจจุบันมีอาคารสำนักงานเพียง 30% ของตลาดที่ได้การรับรองมาตรฐานอาคารเขียว เช่น LEED และ WELL รวมถึง WiredScore ตลอดปี 2567 มีอาคารสำนักงานถึง 13 โครงการ พื้นที่รวมกว่า 358000 ตารางเมตร ที่ได้รับการปรับปรุงตามมาตรฐานอาคารเขียว พร้อมทั้งอำนวยความสะดวกของอาคารให้สอดคล้องกับความต้องการของสถานที่ทำ งานยุคใหม่ ในตลาดศูนย์การค้า ผู้พัฒน อสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ต่างปรับกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและพฤติกรรมของผู้บริโภคในประเทศ ผู้ประกอบการหลายรายได้ประกาศแผนปรับปรุงและปรับตำแหน่งศูนย์การค้าในย่าน ใจกลางกรุงเทพฯ ในขณะที่ คอมมูนิตี้มอลล์ขนาดเล็กกำลังกลับมาได้รับความนิยมเพื่อตอบโจทย์การจับจ่ายใช้สอยในพื้นที่ ตลาดโรงแรมของไทย: ความสามารถในการฟื้นตัว และแนวโน้มเชิงบวกในอนาคต ภาคธุรกิจโรงแรมของไทยกำลังอยู่ในช่วงของการเปลี่ยนแปลง โดยมีทั้งการเปิดตัวแบรนด์ใหม่และกลยุทธ์การรีแบรนด์ที่เข้ามากำหนดทิศทางการแข่งขัน ธุรกิจโรงแรมทั้งแบบซอฟต์แบรนด์ (Soft Brands) และคอลเลกชันแบรนด์ (Collection Brands) จากผู้ประกอบการรายใหญ่ กำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันแบรนด์ใหม่ โดยเฉพาะไลฟ์สไตล์แบรนด์ ก็เริ่มเข้าสู่ตลาดเพื่อสร้างจุดขายในตลาดที่มีการแข่งขันสูงของไทย นอกจากนี้ กรุงเทพฯ ยังเห็นการกลับมาของแบรนด์ดั้งเดิมที่เคยอยู่ในตลาดประเทศไทย ซึ่งสะท้อนถึงความเชื่อมั่นที่กลับคืนสู่ภาคธุรกิจโรงแรมของประเทศ

นายรัฐวัฒน์ คูวิจิตรสุวรรณ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการอาวุโสฝ่ายบริการที่ปรึกษาและบริหารสินทรัพย์ หน่วยธุรกิจบริการการลงทุนด้านโรงแรม เจแอลแอล กล่าวว่า ”แม้ผลการดำเนินงานของโรงแรมจะเติบโตอย่างต่อเนื่อง
แต่เราคาดว่าการเติบโตจะอยู่ในระดับปานกลางเมื่อเทียบกับการฟื้นตัวที่ทำสถิติสูงสุด ในช่วงสองปีที่ผ่านมา นอกจากนี้ เรายังคาดการณ์การเติบโตที่แข็งแกร่งในอุตสาหกรรมไมซ์ (MICE) และการจัดงานแต่งงาน นักลงทุนมีความรอบคอบมากขึ้น โดยมุ่งเน้นไปที่สินทรัพย์มูลค่าสูงในทำเลพรีเมียมและมีความเปิดรับทรัพย์สินประเภท กรรมสิทธิ์เช่าระยะยาว (Leasehold) มากขึ้น โดยเฉพาะในย่านสำคัญของกรุงเทพฯ และพื้นที่รีสอร์ตริมชายหาด”
ในปี 2568 ปริมาณการซื้อขายโรงแรมคาดว่าจะสูงถึง 13000 ล้านบาท โดยสูงกว่าค่าเฉลี่ย 10 ปีของประเทศ
และสะท้อนถึงความน่าสนใจของไทยในฐานะจุดหมายหลักด้านการลงทุนและแนวโน้มเชิงบวกของนักลงทุนต่อตลาดโรงแรมที่มีศักยภาพของประเทศ ประเทศไทยในฐานะศูนย์กลางการลงทุนระดับภูมิภาค ในขณะที่ประเทศไทยยังคงดึงดูดเงินทุนจากต่างชาติและเสริมสร้างสถานะในฐานะศูนย์กลางการลงทุนเชิงกลยุทธ์ เจแอลแอลยังคงมุ่งมั่นที่จะช่วยนักลงทุน ผู้พัฒนาโครงการ และเจ้าของสินทรัพย์ให้สามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของตลอสังหาริมทรัพย์
ด้วยความเชี่ยวชาญเชิงลึกในแนวโน้มตลาด การปรับเปลี่ยนสินทรัพย์ และภาคธุรกิจที่มีการเติบโตสูง เจแอลแอลพร้อมที่จะช่วยลูกค้าเปิดโอกาสใหม่ ๆ และสร้างมูลค่าในตลาดอสังหาริมทรัพย์ของประเทศไทยที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง