เมื่อ : 28 ก.ย. 2567

เราเคยได้ยินกันมามากมายเกี่ยวกับเรื่องแนวทางการทำแบรนด์ การมีตัวตนที่ชัดเจนและเอกลักษณ์ที่ไม่เหมือนใคร ถ้าว่ากันตามตรงสิ่งเหล่านี้ถือเป็นพื้นฐานของการสร้างแบรนด์เลยก็ว่าได้

.

แต่ในยุคปัจจุบันที่มีผู้คนก้าวเข้าสู่ยุคเทคโนโลยี ซึ่งทุกอย่างเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและเปลี่ยนแปลงไปแบบไม่ทันได้ตั้งตัว ทางรอดหนึ่งเดียวของแบรนด์และเหล่าธุรกิจที่กำลังเริ่มต้นใหม่ คือการปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัยปัจจุบัน

.

เชื่อว่าหลาย ๆ คนก็คงมีแนวคิดที่ยังอยากเก็บคาแรกเตอร์ของแบรนด์ไว้ แต่อย่างที่บอกว่า ถ้าเราไม่รู้จักการปรับตัวกับแบรนด์ ปัญหาที่เกิดขึ้นสินค้าจะไม่ตอบโจทย์ผู้บริโภคมันยุคปัจจุบัน และส่งผลให้ยอดขายลดลงจนถึงขั้นล้มละลายเลยก็เป็นได้

.

จริง ๆ ปัญหานี้เคยเกิดขึ้นกับแบรนด์ดังมากมาย วันนี้เราเลยจะมายกตัวอย่างแบรนด์ดังประมาณ 2 เจ้าที่ชี้ให้เห็นถึงปัญหา เมื่อเราไม่ปรับแบรนด์ให้เข้ากับยุคสมัยที่เปลี่ยนไป ผลจะเป็นอย่างไร

.

#Nokiaแบรนด์โทรศัพท์มือถือที่ครั้งหนึ่งเคยครองตลาดไทย

เชื่อว่าหลายคนยังจำชื่อแบรนด์ดังนี้กันได้ เมื่อประมาณในช่วง 15-20 ปีก่อน Nokia ถือเป็นแบรนด์โทรศัพท์มือถือที่ฮิตมาก ๆ ในประเทศไทย จนกระทั่งการเข้ามาของ Apple ที่เริ่มเปลี่ยนจากโทรศัพท์มือถือ กลายเป็นสมาร์ตโฟน ที่ใช้งานได้หลากหลายฟังก์ชันผ่านการทัชสกรีนหรือระบบหน้าจอสัมผัส พร้อมด้วยเทคโนโลยีมากมายที่ไม่เคยเห็นกันมาก่อน .

.

Samsung เองก็เป็นอีกหนึ่งแบรนด์ที่เห็นโอกาสในการก้าวไปให้ทันในยุคสมัยที่กำลังเปลี่ยนไป จึงปรับเปลี่ยนแนวทางแบรนด์ตัวเอง ให้เข้าสู่ยุคของการเป็นสมาร์ตโฟนมากขึ้น

.

ต่างกับ Nokia ที่ยังคงยึดมั่นในตัวแบรนด์ของตัวเอง แต่ผลลัพธ์คือ เมื่อทั่วโลกเปลี่ยนมาใช้รูปแบบสมาร์ตโฟน และเทคโนโลยีที่ทันสมัยสำหรับการรองรับ 4G จนทำให้ทิ้งห่างแบรนด์ Nokia ที่ยังไม่แม้แต่รองรับ 3G ได้ด้วยซ้ำ นั่นคือสาเหตุที่ทำให้แบรนด์ Nokia เกือบจะล้มไม่เป็นท่า ก่อนที่จะตัดสินใจขายหุ้นให้กับทาง Microsoft

.

#Kodakแบรนด์กล้องฟิล์มถ่ายภาพที่ทุกคนต้องเคยมีไว้

ในยุคคลาสสิคที่การถ่ายรูปต้องใช้กล้องฟิล์ม ทุกครั้งที่ถ่ายรูปหนึ่งครั้ง ก็ต้องรอเป็นเดือนกว่าจะได้รูป ซึ่งเอาจริง ๆ มันคลาสิคและให้ความรู้สึกที่ดีมาก และเชื่อได้ว่าเราหลายคนยังคงมีความทรงจำ บรรยากาศเก่า ๆ ที่เคยถ่ายรูปด้วยกล้องฟิล์ม

.

แต่เมื่อเวลาผ่านไป ยุคโซเชียลมีเดียเริ่มเข้ามามากขึ้น สมาร์ตโฟนที่สามารถถ่ายรูปได้ชัดพอ ๆ กับกล้องรวมไปถึงโพสต์หรือแชร์ภาพ ที่ทำให้เราได้รูปถ่ายอย่างรวดเร็ว ทำให้แบรนด์กล้องหลายแบรนด์ต้องรีบยกระดับตัวเองให้ทันยุคสมัย

.

แต่ Kodak กลับตัดสินใจยืนยันที่จะรักษาเอกลักษณ์ของตัวเองไว้ และนั่นคือการตัดสินใจที่ผิดพลาด เพราะด้วยการตลาดที่แข่งขันกันอย่างสูง เทคโนโลยีรุ่นใหม่สามารถผลิตฟิลเตอร์ผ่านสมาร์ตโฟน หรือฟังก์ชันสำหรับกล้องยุคใหม่ที่ถ่ายภาพออกมาเสมือนถ่ายผ่านกล้องฟิล์ม ทำให้ Kodak ไม่เป็นที่ต้องการอีกต่อไป และนี่ถือเป็นการเดินเกมที่พลาดอย่างเห็นได้ชัดเลยทีเดียว

.

สรุปก็คือ การมีเอกลักษณ์หรือตัวตนของแบรนด์ที่ชัดเจนเป็นเรื่องที่ดี แต่สิ่งที่เราต้องยอมรับคือการปรับเปลี่ยนบางส่วนในผลิตภัณฑ์หรือแบรนด์ เพื่อให้เข้ากับยุคสมัยใหม่ที่กำลังจะมาถึง ซึ่งนั่นไม่ได้หมายความว่า เราต้องเปลี่ยนตัวตนของแบรนด์ไปทั้งหมด แต่เพียงแค่ปรับบางส่วนให้เข้ากับลูกค้าที่เป็น Generation รุ่นปัจจุบันเท่านั้น

.

ซึ่งถ้าเรามองไปในอนาคตอันใกล้นี้ ก็จะเห็นได้ว่า ยุค AI กำลังจะเข้ามาครองตลาดไทย ใครที่มีแบรนด์หรือธุรกิจอะไรก็ตาม ควรมองหาโอกาสในการปรับแบรนด์ให้เข้า AI ไว้ล่วงหน้า และเมื่อถึงเวลา คุณจะกลายเป็นแบรนด์ชั้นนำที่ก้าวไปก่อนใครเพื่อนได้อย่างรวดเร็ว

.

#ตั้งตัว #Tangtua